"ทะเล" เป็นหนึ่งในสถานที่แห่งความทรงจำของใครหลายๆ คน และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความหลังแสนหวานกับทะเล และมีโปรแกรมที่จะใช้ชีวิตคู่ด้วยกันแล้วล่ะก็ การจัดงานแต่งงานริมทะเลบนเกาะส่วนตัวนับเป็นทางเลือกที่จะล็อกความทรงจำดีๆ ให้คงอยู่คู่ความรักของคุณตลอดไป ขั้นตอนการเตรียมงาน ไม่ต่างจากการจัดงานแบบอินดอร์เท่าไหร่ เพราะต้องเริ่มจากการกำหนดธีมงานที่อยากได้หรือรูปแบบที่ชอบ รวมถึงบรรยากาศโดยรวมที่อยากให้เกิดขึ้น และที่สำคัญต้องสรุปให้ได้ว่าจัดกันเองไหวไหม หรือจะจ้างออร์แกไนท์เซอร์มาทำแทนดี จากนั้นก็นำสิ่งที่คิดได้มาลงมือทำ ถ้าลำดับได้อย่างนี้แล้วเรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายทันที ธีมของงาน หรือรูปแบบการจัดงาน
รูปแบบการจัดงานเป็นสิ่งแรกที่ต้องขบให้แตกคิดให้ตกก่อนการจัดงาน เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนความต้องการและความเป็นตัวเองของคุณทั้งสองคนมากที่สุด เป็นด่านแรกที่ต่อยอดเพื่อให้เกิดขั้นตอนต่อไป ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจร่วมกัน โดยแบ่งเป็นเป็นข้อๆเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ดังนี้
++ 1. บรรยากาศในงาน แน่นอนว่าการจัดงานแต่งงานริมทะเล หรือว่าบนเกาะส่วนตัว คุณทั้งคู่คงอยากได้บรรยากาศส่วนตัวที่เป็นกันเองสบายๆ ไม่เป็นทางการมากเกินไป
++ 2. โทนสี อย่าลืมว่าสีทุกสีมีความหมาย และสื่อถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป คนส่วนใหญ่มักมองว่าสีฟ้าคือทะเลสีขาวเป็นหาดทราย สีของการจัดงานจึงจำกัดอยู่แค่สีฟ้า-ขาวเท่านั้น แต่ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะคุณอาจมีสีเฉพาะสำหรับสองเราอยู่ในใจ ซึ่งไม่ผิดแต่อย่างใดที่จะนำสีนั้นเข้ามาเป็นตัวชูโรงในงานแต่งงานของคุณเอง
++ 3. ลักษณะของงาน ไหนๆ ก็มาถึงทะเลแล้วเลือกจัดงานแบบเอ้าท์ดอร์เพื่อให้อินกับบรรยากาศทะเลได้อย่างเต็มที่จะดีกว่ามาก การเลือกสถานที่ จะง่ายมากถ้าคุณทั้งสองมีสถานที่แห่งความรักอันหวานฉ่ำอยู่แล้ว แต่ถ้าสถานที่ของคุณไม่เหมาะกับการจัดงาน อาจเป็นเพราะว่าชายหาดไม่สวย หรือเป็นชายหาดยอดฮิตที่คนเยอะมาก ก็คงต้องหาสถานที่ใหม่ เพราะถ้าชายหาดไม่สวย มีสิ่งปลูกสร้างบนหาด หรือมีคนเยอะเกินไปก็ไม่เหมาะ เพราะงานของคุณจะกลายเป็นงานไทยมุง ฝรั่งมุง หมดความโรแมนติกกันพอดี
สำหรับหลักการเลือกสถานที่เบื้องต้นนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นข้อๆ ดังนี้
++ 1. ควรลงความเห็นกันก่อนว่าชายหาดที่ชอบเป็นแบบใด และจังหวัดไหน ริมทะเลทั่วไปหรือเป็นเกาะส่วนตัว
++ 2. เมื่อได้สถานที่ที่ต้องการแล้ว เริ่มสำรวจพื้นที่ที่หมายตาไว้แล้วศึกษาเรื่องค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องต่างๆให้ละเอียด
++ 3. ควรจูงมือกันสำรวจว่าสถานที่นั้นมีวัสดุในท้องถิ่นหรือของพื้นบ้านอะไรที่เป็นเอกลักษณ์น่าสนใจบ้าง เช่น อาจจะไปเดินตลาดแถวนั้น ดูว่าดอกไม้พื้นบ้านคือดอกอะไร เผื่อไว้ใช้ประโยชน์ในการตกแต่งซุ้มในงาน เป็นต้น หรืออาจจะเช็คกับทางสถานที่ว่ามีอะไรที่ตรงกับความต้องการของเราให้หยิบยืมได้บ้าง ลักษณะที่เหมาะสมที่สุดในการจัดงานแต่งงาน คือ ชายหาดที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง มองสบายตา ซึ่งจะทำให้เราเนรมิต พื้นที่ได้ดังใจ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ สถานที่สวยที่อยากแนะนำ
ถ้าคุณต้องการความเป็นส่วนตัวภายใต้ความสวยและโรแมนติกแล้วล่ะก็ แนะนำให้จัดงานบนเกาะส่วนตัว อย่างเช่นเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกาะมันนอก จังหวัดระยอง ส่วนชายหาดที่แนะนำ ได้แก่ ชายหาดริมทะเลของจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตาม การเลือกสถานที่ ควรคำนึงถึงการเดินทางของแขกที่มาร่วมงานด้วย ถ้าเห็นว่าไกลเกินไป ชายหาดริมทะเลหัวหินหรือปราณบุรี ก็เป็นอีกที่ ที่อยากแนะนำ แม้ทะเลและหาดทรายจะไม่สวยสมบูรณ์แบบเท่าภูเก็ต แต่ด้วยความเก่าแก่ของสถานที่ ก็ช่วยให้งานอบอุ่นและมีเสน่ห์ น่าประทับใจไปอีกแบบ ช่วงเวลาจัดงานแต่งงาน เ
ลือกเดือนให้เหมาะ เพราะทะเลมีปรากฏการณ์ น้ำขึ้นน้ำลง เป็นตัวแปร ในแต่ฤดูกาล เวลาน้ำขึ้นน้ำลงจะแตกต่างกัน ดังนั้นทำให้เวลาในการจัดงานเลี้ยงต้องสั้น กระชับ ไม่ยืดเยื้อ ช่วงเวลาที่ดีที่ดีสุดจะเป็นช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่ เดือนเมษายน-มิถุนายน และช่วงหน้าหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคม-มกราคมของทุกปี เพราะคลื่นลมไม่แรงมาก และปริมาณน้ำในช่วงนั้นก็ไม่สูงมากนัก
เลือกเวลาให้ถูก งานแต่งงานริมชายหาดมักแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงพระอาทิตย์อัสดง ถือเป็นเวลาที่โรแมนติกมากที่สุดที่บ่าวสาวนิยมใช้เวลานี้แลกแหวนแต่งงานกัน ส่วนอีกช่วงหนึ่งคือ ช่วงค่ำหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว มักเป็นช่วงปาร์ตี้หลังแต่งงานของญาติสนิท และเพื่อนฝูง แสงเทียนวิบวับ และลมทะเลเย็นสบาย ช่วยเพิ่มบรรยากาศให้โรแมนติกแบบไม่ต้องแต่งเติม
ลิสต์รายชื่อแขก เนื่องจากเป็นการจัดงานแต่งงานที่ต้องให้แขกเดินทาง การลิสต์รายชื่อแขกจึงเป็นเรื่องสำคัญและต้องพิถีพิถันมาก ถ้าไม่นับคุณพ่อคุณแม่ของทั้งสองฝ่ายที่พร้อมหิ้วกระเป๋าไปกับคุณด้วยแล้ว ต้องเช็คเหล่าบรรดาญาติๆ และเพื่อนๆ ด้วยว่าพร้อมหรือเปล่า และที่สำคัญต้องนับจำนวนคนให้พอดีไม่ควรมีเผื่อลบเผื่อเกินเด็ดขาด เพราะจำนวนของแขกจะเป็นตัวกำหนดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงาน การตกแต่งในงาน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้คอนเซ็ปต์ที่วางไว้ก่อเป็นรูปร่างขึ้นในสถานที่จริง แต่ไม่ว่าคุณวางแผนอะไรไว้ เมื่อลงมือทำจริงๆ ควรคิดไว้เสมอว่า การตกแต่งสถานที่ ควรเป็นไปอย่างเรียบง่าย เคลื่อนย้ายได้สะดวก และควรใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นมาใช้ตกแต่งให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เปลืองแรงในการขนย้าย ช่วงเวลาของการจัดงาน เลือกเวลาเย็นก่อนพลบค่ำสำหรับการจัดงานบนหาด เพราะเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ทอแสงโรแมนติกสุดท้ายให้เป็นของขวัญก่อนลับหายไปในทะเล ก่อนได้เวลาประกอบพิธีควรให้แขกทุกคนทานอาหารเย็นให้เสร็จเรียบร้อยก่อนทำพิธี เพราะหลังจากเสร็จพธีจะเข้าสู่ช่วงเวลาปาร์ตี้เครื่องดื่ม ปาร์ตี้หลังงาน แน่นอนว่าปาร์ตี้นี้ยังคงได้ย่ำทรายกันอย่างสนุกสนาน เพราะคุณเอกเลือกจัดงานใต้ต้นไม้ใหญ่ริมหาด ตกแต่งกิ่งไม้ด้วยโคมไฟญี่ปุ่นที่สว่างจ้าด้วยแสงนีออนภายใน คริสตัลรูปหยดน้ำขนาดต่างๆ ที่ห้อยอยู่บนกิ่งไม้คอยสะท้อนแสงไฟล้อกับแสงดาว ให้บรรยากาศของงานดูหรูหรามากขึ้น ตั้งโต๊ะกลมขายาวตัวเล็กสำหรับวางโคมไฟ และเครื่องดื่มในงาน
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ช่อดอกไม้สำหรับเจ้าสาว เนื่องจากลมและแสงแดด บริเวณริมชายหาด ค่อนข้างแรง ดอกไม้ที่ใช้ตกแต่งภายในงานจึงควรเลือกดอกไม้แบบที่ทนต่อแดดและแรงลม เช่น กล้วยไม้ตระกูลต่างๆ ดอกหน้าวัว หรือจะนำดอกไม้ในท้องถิ่นอย่างดอกลีลาวดีขาวมาจับช่อก็ได้อารมณ์ของทะเลดี สำหรับงานแต่งงานริมหาดบนเกาะมันนอก คุณเอกออกแบบบูเก้สำหรับเจ้าสาวเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น อย่างเช่นใบเฟิร์นป่า กิ่งกัลปังหา หอยชนิดต่างๆ นำมาจับช่อรวมกับดอกกุหลาบสีขาว (สิ่งเดียวที่นำมาจากฝั่ง) และเพิ่มความพิเศษด้วยใบสัปปะรดสี พันก้านช่อบูเก้ด้วยริบบิ้นสีเขียวตามคอนเซ็ปต์ของงาน เค้กแต่งงาน เค้กแต่งงานถือเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของงาน โดยทั่วไปเค้กแต่งงานมักตกแต่งด้วยครีมหลากสี ตามความต้องการของคู่บ่าว-สาว แต่เนื่องจากงานนี้แตกต่างจากงานแต่งธรรมดาตรงที่จัดขึ้นริมชายหาดที่สายลมและแสงแดดค่อนข้างแรง Fondant cake จึงเป็นเค้กที่เหมาะที่สุดสำหรับงานแบบนี้ ด้วยลักษณะของบเค้กที่ด้านนอกคลุมด้วยน้ำตาลแข็ง มีผิวเรียบ คุณสมบัติคงรูปได้นาน จึงแน่ใจได้ว่าเค้กจะยังคงสวยอยู่จนถึงเวลาตัดเค้ก ดนตรี แนะนำให้พกวีซีดี หรือ แผ่นเพลง MP3 ที่ชอบไปด้วย แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรีสอร์ตเดินสายไฟ ลากลำโพงมาให้ในบริเวณจัดงาน หรือถ้าชอบการแสดงสด แนะนำให้เพื่อนๆ ที่รู้จักและเล่นได้บรรเลงเป็นเพลงอคลูสติกจากกีตาร์จะประหยัดและเหมาะกับการขนย้ายมากที่สุด แสงไฟ ไม่ควรให้แสงจ้าเกินไป เพราะงานริมหาดส่วนมากจะสร้างบรรยากาศด้วยการจุดเทียน หรือ คบเพลิง ถ้าแสงไปจ้าเกินไปจะกลบแสงธรรมชาติเหล่านี้ ทำให้เสียบรรยากาศของงานได้ งบประมาณในการจัดงาน
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ช่อดอกไม้สำหรับเจ้าสาว เนื่องจากลมและแสงแดด บริเวณริมชายหาด ค่อนข้างแรง ดอกไม้ที่ใช้ตกแต่งภายในงานจึงควรเลือกดอกไม้แบบที่ทนต่อแดดและแรงลม เช่น กล้วยไม้ตระกูลต่างๆ ดอกหน้าวัว หรือจะนำดอกไม้ในท้องถิ่นอย่างดอกลีลาวดีขาวมาจับช่อก็ได้อารมณ์ของทะเลดี สำหรับงานแต่งงานริมหาดบนเกาะมันนอก คุณเอกออกแบบบูเก้สำหรับเจ้าสาวเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น อย่างเช่นใบเฟิร์นป่า กิ่งกัลปังหา หอยชนิดต่างๆ นำมาจับช่อรวมกับดอกกุหลาบสีขาว (สิ่งเดียวที่นำมาจากฝั่ง) และเพิ่มความพิเศษด้วยใบสัปปะรดสี พันก้านช่อบูเก้ด้วยริบบิ้นสีเขียวตามคอนเซ็ปต์ของงาน เค้กแต่งงาน เค้กแต่งงานถือเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของงาน โดยทั่วไปเค้กแต่งงานมักตกแต่งด้วยครีมหลากสี ตามความต้องการของคู่บ่าว-สาว แต่เนื่องจากงานนี้แตกต่างจากงานแต่งธรรมดาตรงที่จัดขึ้นริมชายหาดที่สายลมและแสงแดดค่อนข้างแรง Fondant cake จึงเป็นเค้กที่เหมาะที่สุดสำหรับงานแบบนี้ ด้วยลักษณะของบเค้กที่ด้านนอกคลุมด้วยน้ำตาลแข็ง มีผิวเรียบ คุณสมบัติคงรูปได้นาน จึงแน่ใจได้ว่าเค้กจะยังคงสวยอยู่จนถึงเวลาตัดเค้ก ดนตรี แนะนำให้พกวีซีดี หรือ แผ่นเพลง MP3 ที่ชอบไปด้วย แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรีสอร์ตเดินสายไฟ ลากลำโพงมาให้ในบริเวณจัดงาน หรือถ้าชอบการแสดงสด แนะนำให้เพื่อนๆ ที่รู้จักและเล่นได้บรรเลงเป็นเพลงอคลูสติกจากกีตาร์จะประหยัดและเหมาะกับการขนย้ายมากที่สุด แสงไฟ ไม่ควรให้แสงจ้าเกินไป เพราะงานริมหาดส่วนมากจะสร้างบรรยากาศด้วยการจุดเทียน หรือ คบเพลิง ถ้าแสงไปจ้าเกินไปจะกลบแสงธรรมชาติเหล่านี้ ทำให้เสียบรรยากาศของงานได้ งบประมาณในการจัดงาน
งบประมาณเป็นเรื่องที่คุณเจ้าบ่าวและเจ้าสาวควรคำนึงถึง ไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนอื่นๆ เพราะงานจะใหญ่ จะเล็ก สวยได้มาก ได้น้อย ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณในกระเป๋าทั้งสิ้น